วิธีการค้นหาสไตล์การ ทำสมาธิของคุณ

วิธีการค้นหาสไตล์การ ทำสมาธิของคุณ
ถ้าคุณเป็นคนที่แสวงหาวิธีทำสมาธิ แต่คุณกลับรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากสำหรับคุณมาก ซึ่งมันเป็นเรื่องน่าขันอย่างยิ่ง เพราะว่าคุณแค่คิดไปเองว่ามันยาก ไม่ต้องกังวลไปเราจะพาคุณไปรู้จักรูปแบบต่างๆ ของการทำสมาธิโดยที่คุณไม่ต้องใช้เวลาเป็นปีๆเพื่อทุ่มเทกับมัน

การทำสมาธิคืออะไร
พูดให้เข้าใจง่ายๆ เลยคือ วิธีนี้เป็นการปล่อยวาง โดยทำให้จิตใจ ปลอดโปร่งและสงบ การที่จะไปถึงขั้นนั้นได้ จำเป็นต้องใช้เวลาสักระยะ เมื่อเราสามารถทำได้แล้วนั้น ความคิดที่เป็นด้านลบ หรือความคิดที่คอยกวนใจเราจะไม่มีอีก วิธีการคือไม่ต้องไปคิดถึงพรุ่งนี้ไม่ต้องเสียดายสิ่งที่ไม่ได้ทำในอดีต ปล่อยให้เป็นไปในแบบที่ควรจะเป็น

ความสำคัญและประโยชน์ของการทำสมาธิ
ประโยชน์ของการทำสมาธินั้นมีมากมาย ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะสำรวจผลกระทบเชิงบวกในสี่ด้านที่แตกต่างกันเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ
– ข้อแรกเลย คือ การที่เราละทิ้งอีโก้ของเราเพื่อให้จิตใจของเราสงบเมื่อคุณสงบแล้วนั้นคุณจะสามารถเข้าใจตัวเองได้ดี และค้นหาตัวตนภายในของคุณ เพื่อเข้าใจเป้าหมายกับความหมายของคุณค่าของตัวเรา
– การทำสมาธิทำให้จิตใจปลอดโปร่งและยังทำให้เรามีพลังในการทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น จากการวิจัยมากมาย กล่าวว่า เมื่อสภาพจิตใจเราแข็งแรงแล้วนั้น ร่างกายของเราก็จะแข็งแรงตามไปด้วย เพราะว่าการทำสมาธิช่วยลดความเครียด และลดโอกาสเกิดโรคที่เกิดจากความเครียดได้ เช่น
1) PTSD (Post-traumatic stress disorder) หรือโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง เป็นภาวะทางจิตที่เกิดจากการเผชิญกับเหตุการณ์ตึงเครียด น่ากลัว หรือกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง ซึ่งอาจเป็นประสบการณ์โดยตรงหรือการพบเห็นเหตุการณ์นั้น ๆ จนทำให้ผู้ป่วยอาจเห็นภาพในอดีต ฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รู้สึกวิตกกังวลโดยไม่สามารควบคุมได้ อาจส่งผลให้นอนไม่หลับและไม่มีสมาธิด้วย โดยอาการเหล่านี้จะค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้
2) IBS (Irritable Bowel Syndrome) หรือโรคไอบีเอส คือ โรคลำไส้ที่ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง ไม่สบายท้อง มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายท้องผูกสลับกับท้องเสีย หรืออั้นอุจจาระไม่อยู่ เป็นต้น เป็นผลมาจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ความเครียด
3) Fibromyalgia (ไฟโบรมัยอัลเจีย) เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อร่วมกับมีอาการอ่อนเพลีย มีปัญหาด้านความจำและสมาธิรวมทั้งอาจนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิท โรคนี้ไม่อาจรักษาให้หายขาด แพทย์จึงจะประคับประคองอาการ โดยให้ผู้ป่วยรับประทานยา ออกกำลังกาย และปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเครียดเป็นหลักนอกจากลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวแล้ว ยังช่วยให้สมองของคุณประมวลผลข้อมูลได้ ดีขึ้นและลดการสูญเสียความจำก่อนวัย, ปรับความดันโลหิตและลดการอักเสบ
– เมื่อคุณต้องอยู่ใต้ภาวะแรงกดดัน มันก็เป็นเรื่องที่ดีที่จำเป็นต้องมีตัวช่วยหรือเครื่องมือ ที่สามารถนำพาเราให้ออกมาจากสถานการณ์นั้นได้ เครื่องมือที่ว่าก็คือการทำสมาธิ เพราะการทำสมาธิช่วยลดความกังวล, แรงกดดันและลดอาการนอนไม่หลับได้ดีด้วย
– อย่างสุดท้ายคือ สุขภาพของอารมณ์ของเรา สามารถทำให้แข็งแรงขึ้นได้ด้วยการทำสมาธิ การทำสมาธิจะช่วยให้เรารู้สึกรักตัวเองมากขึ้น รวมถึงรู้สึกความรักจากผู้อื่นด้วย
จากตรงนี้คุณสามารถปล่อยวางสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น สิ่งเล็กๆ น้อยๆ และความรู้สึกด้านลบก็จะไม่เกิดขึ้นอีก

ประเภทของการทำสมาธิ
ในโลกของเรานั้นมีทฤษฎีและวิธีการทำสมาธิหลากหลายมากโดยมีทั้งจากศาสนาพุทธ, พระเวทในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู, จากศาสนาคริสต์และแบบตามธรรมเนียมจีน ฯลฯ ก็เพราะว่ามันมีวิธีฝึกการทำสมาธิมากมาย เราจึงไม่สามารถลองได้ทั้งหมด
แต่ก็จะมีวิธีที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เช่น การควบคุมสติ, ชี้นำ, วิปัสสนา, ควบคุมลมหายใจ, วิถีเซน, จักระและโยคะ สอบถามผู้เชียวชาญเกี่ยวกับวิธีทำสมาธิต่าง ว่าการทำสมาธิประเภทต่างๆ เหมาะสำหรับคนแบบใด จากนั้นศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับวิธีนั้นๆ ถ้ารู้ว่ามันยังไม่ใช่ อย่าพึ่งยอมแพ้ถ้าหนทางของเราชัดเจนเพียงแค่ลองวิธีใหม่ก็พอ

ข้อเท็จจริงของการทำสมาธิ
การทำอะไรก็แล้วแต่ควรเริ่มจากพื้นฐานก่อน อย่างเช่นจะวิ่งได้ก็ต่อเมื่อเราเดินได้ก่อน เช่นเดียวกับการปฏิบัติสมาธิเราควรเริ่มวิธีปฏิบัติที่ไม่ยากนัก แต่ความยากง่ายแต่ละคนไม่เท่ากัน การฝึกฝนที่เหมาะสม จะทำให้เราทำได้นานและช่วยให้มันเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของคุณ จงจำไว้ว่า คุณภาพนั้นสำคัญกว่าปริมาณ การวิจัยแสดงให้เห็นว่าความถี่มีความหมายมากกว่าระยะเวลา นั่นหมายถึง 10 นาทีต่อวันดีกว่า 70 นาทีต่อสัปดาห์

มองเห็นการเปลี่ยนแปลง
เมื่อคุณเริ่มทำสมาธิ ให้ทิ้งความคาดหวังออกไป เพราะผลลัพธ์ที่ได้แต่ละคนได้ไม่เหมือนกัน สำหรับบางคนเห็นผลลัพธ์เพียงแค่ทำแค่ครั้งเดียว หรือสำหรับบางคนอาจใช้เวลานานกว่านั้น เพราะความมั่นคงและความแน่วแน่เป็นสิ่งจำเป็น จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทำสมาธิเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของสมองหลังจากผ่านไปสองเดือน โดยความถี่ที่มีประสิทธิภาพที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ คือ ทำสมาธิ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ครั้งละ 10 – 20 นาที

เคล็ดลับ
• ฝึกทำสมาธิในแบบของคุณ
• เริ่มด้วยระยะเวลาที่ไม่มาก (3-5 นาที)
• หาหลักการและความหมายของการทำสมาธิ
• หยุดการคิดแบบ all-or-nothing
• ไม่ตั้งครหาแก่ตัวเอง
• เรียนรู้ที่จะรับรู้และรับมือกับความคิดของคุณ
การที่จะเชียวชาญในการทำสมาธิจำเป็นต้องใช้เวลาอย่างมาก แต่เชื่อเถอะว่ามันคุ้มค่าที่ลงทุน อยู่กับมันไว้ ในท้ายที่สุดแล้วคุณก็จะไปยังจุดที่คุณมีแนวปฏิบัติที่มั่นคงที่คุณสามารถพึ่งพาได้ การทำสมาธิของคุณจะไม่เพียง แต่ช่วยนำทางเวลาที่ยากลำบาก แต่ยังสร้างพลังงานที่ดีเพื่อช่วยให้คุณมองโลกในแง่ดีและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
เป็นไงกันบ้างกับการค้นหาสมาธิในแบบของคุณ ขอให้หมั่นฝึกฝน อย่าละทิ้งกลางคัน แล้วผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้คุณเป็นคนใหม่ คนที่ดีขึ้น เหมือน Dharmabums ของเราที่มอบแต่สิ่งดีๆให้กับลูกค้าทุกคน ด้วยสินค้ารักษ์โลก ของเรา สนใจ คลิก ช้อปเลย